เปิด 10 เทรนด์พลิกไทยสู่ ‘ดิจิตอล’ดึง‘ไอที-บล็อกเชน’ เสริมแกร่ง

สรอ.เผย 10 เทรนด์เด่นดันรัฐบาลดิจิตอลหนุนไทยก้าวหน้าสู่สังคมยุคใหม่ ผนึกหน่วยงานรัฐเอกชน ดึงเทคโนโลยี “บล็อกเชน-อีเพย์เมนท์” เสริมแกร่งพร้อมดันแอพพลิเคชั่นภาครัฐเสิร์ฟบริการประชาชน

นายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ได้สรุป 10 แนวโน้มความท้าทายการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัลว่า เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานเพิ่งเริ่มดำเนินการ 10 แนวโน้มความท้าทายที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านการเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่สำคัญ คือ

1. ผลักดันให้ใช้บัตรประชาชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนเข้ารับบริการจากภาครัฐ สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้บริการที่ทำธุรกรรมกับภาครัฐได้โดยไม่ต้องขอสำเนาโดยกระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรงบประมาณในการซื้อเครื่องอ่านบัตรประชาชนราว 2 แสนเครื่อง เพื่อติดตั้งในหน่วยงานราชการรองรับบริการประชาชนได้ทั่วประเทศ คาดติดตั้งแล้วเสร็จภายในปีนี้

2. จัดการข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาลด้วยระบบเชื่อมโยงข้อมูลกลางเพื่อบูรณาการข้อมูลรวม (Citizen Data Integration)ทั้งมีมาตรการควบคุมความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

3. ระบบชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ต่อยอดสู่สังคมไร้เงินสด ผลักดันให้ประชาชนลดการใช้เงินสด เช่นระบบพร้อมเพย์ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของไทยในการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด

4. ดูแลระบบสุขภาพคนไทยด้วยบล็อกเชน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง ขณะนี้สรอ.ให้ความสนใจเพราะตอบโจทย์ด้านการบริหารจัดการข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูงได้และมีความปลอดภัยด้วย

5. มุ่งพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ ภาครัฐหลังจากทำการศึกษาความจำเป็นในการรวมศูนย์ทำดาต้าเซ็นเตอร์ภาครัฐมาระยะหนึ่ง คาดเปิดให้บริการจริงได้ปีหน้า

6. รวมศูนย์แบบครบวงจร Gov-Channel

7. ปรับปรุงบริการภาครัฐ คิดค้นบริการออนไลน์ใหม่รองรับความต้องการของประชาชน

8. ข้อมูลเปิดภาครัฐไทยเข้าสู่ยุค High-Valve Datasets นำข้อมูลที่เปิดเผยจากภาครัฐ ภายใต้โดเมน data.go.th ให้ภาคประชาชนและธุรกิจแข่งขันพัฒนาแอพพลิเคชั่นต้นแบบ ส่งผลให้มีการใช้งานเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน

9. การยกระดับขีดความสามารถเชิงดิจิทัลบุคลากรภาครัฐ

10. หามาตรการปกป้องข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ega.or.th/th/content/890/11836/

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *