เลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ ดูแลง่าย ใช้พื้นที่น้อย วิถีพอเพียง สู่การสร้างรายได้

การเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ ดูแลง่าย ใช้พื้นที่น้อย อีกทั้งยังสามารถเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารได้ในทุกครอบครัว ที่พอจะมีพื้นที่ของบ้านเหลือ เพื่อลดค่าใช้จ่าย อยู่แบบพอเพียง มีกินใช้ เหลือจากนั้นก็ยังขายได้ เป็นอีกทางเลือกของการสร้างฐานนะครอบเป็นอย่างดี ซึ่งขั้นตอนและวิธีการ รวมถึงการลงทุนก็ต่ำด้วย..

ประโยชน์การเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์

การเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ ที่เห็นๆชัดเจนคือใช้พื้นที่น้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่ ใช้เวลาเลี้ยงสั้น รุ่นละประมาณ 90-120 วัน สามารถเลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้โดยการใช้พันธ์ุปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี เลี้ยงและดูแลรักษาได้สะดวกมาเลี้ยง สำหรับเกษตรกรที่สนใจในเรื่องนี้ขั้นต้นคือเลือกสถานที่สร้างบ่อซึ่งควรอยู่ใกล้บ้าน หรือที่สามารถดูแลได้สะดวก อยู่ในร่มหรือมีหลังคา เพราะปลาจะไม่ชอบแสงแดดจัด และป้องกันเศษใบไม้ลงสู่บ่อจะทำให้น้ำเสียได้มีแหล่งน้ำสำหรับเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวก การเลี้ยงในพื้นที่บริเวณบ้านที่มีพื้นที่พอ แค่มีระบบระบายน้ำที่ดีก็ใช้ได้ หรือถ้ามีแปลงเกษตร นำไปรดหรือให้น้ำแก่ต้นไม้ได้  ก็ยิ่งดี จะได้หมุนเวียนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด หลังจากสร้างบ่อเสร็จ ให้ตัดต้นกล้วยเป็นท่อนใส่ลงไปในบ่อ เติมน้ำให้ท่วม แช่ไว้ 3-5 วัน เปลี่ยนต้นกล้วยแล้วแช่ไว้อีกครั้งเพื่อให้หมดฤทธิ์ปูนขาว แล้วล้างบ่อให้สะอาด ตรวจสอบสภาพน้ำให้เป็นกลางหมดฤทธิ์ของปูน ถ้ามีตะไคร่น้ำเกาะติดที่ข้างบ่อปูนก็จะดี น้ำที่จะใช้เลี้ยงคือน้ำจากคลอง หนอง บึง ควรตรวจสอบว่ามีศัตรูปลาเข้ามาในบ่อด้วยหรือเปล่า หากเป็นน้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำประปา ต้องพักน้ำไว้ประมาณ 3-5 วัน ก่อนนำมาใช้เลี้ยงปลา

ปลาที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์

ปลาที่นำมาปล่อยควรมีความยาวประมาณ 5-7 ซม. อัตราการปล่อยลงเลี้ยงคำนวณจากเส้นผ่าศูนย์กลางของบ่อที่ 1 เมตร ลึก 40 ซม. ใช้ลูกปลาประมาณ 80-100 ตัว หากเลี้ยงเชิงพาณิชย์ขนาดบ่อและปริมาณบ่อก็เพิ่มมากขึ้นตามกำลังของผู้เลี้ยง ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรใส่เกลือแกงประมาณ 2-3 ช้อนแกง เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำ ระดับน้ำที่ปล่อยปลาครั้งแรก 10-15 ซม. ควรปล่อยในตอนเช้า โดยนำถุงปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงแช่ในบ่อประมาณ 30 นาที เพื่อให้อุณหภูมิน้ำในถุงปลาและน้ำในบ่อไม่แตกต่างกันป้องกันปลาตาย ควรมีวัสดุให้ปลาหลบซ่อนภายในบ่อ เช่นท่อพีวีซีตัดเป็นท่อนหรือกระบอกไม้ไผ่ เพราะปลาตัวใหญ่จะกวนปลาตัวเล็ก ควรมีการคัดขนาดปลา เมื่อมีอายุประมาณ 15-20 วัน โดยแยกบ่อให้ชัดเจนระหว่างตัวเล็กกับตัวใหญ่

เมื่อเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ไปได้ 10 -15 วัน เพิ่มระดับน้ำแต่ไม่เกิน 40 ซม. ถ่ายเทน้ำทุก 5-7 วัน แต่ละครั้งไม่ควรถ่ายจนหมด ถ่ายน้ำประมาณ 1 ส่วน 3 ของน้ำในบ่อ ขณะถ่ายเทน้ำไม่ควรรบกวนให้ปลาตกใจเพราะปลาจะไม่กินอาหาร 2-3 วัน ไม่ปล่อยปลาหนาแน่นเกินไปและไม่ให้อาหารมากจนเกินไป พร้อมทั้งรักษาคุณภาพน้ำให้เหมาะสม

สนใจการเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์

สนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือเข้าศึกษาดูงานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่ หรือในช่วงระหว่าง 23-29 มกราคม 2558 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ได้ร่วมกับสำนักงาน กปร. จังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมภายในศูนย์ฯ จะจัดงาน 32 ปี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้น ซึ่งภายในงานจะมีการสาธิตการเลี้ยงปลาในรูปแบบดังกล่าวให้ได้รับชมด้วย

โอกาสของการเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ สร้างรายได้ 

เนื่องจากว่า การลงทุนสำหรับเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์สำหรับไว้บริโภคในครัวเรื่อนนั้นต่ำ อาจจะเลี้ยงแค่ 1-2 บ่อเพื่อใช้เป็นอาหาร ลดค่าใช้จ่าย หรือเป็นการเริ่มศึกษาได้เพราะเริ่มจากน้อยๆจะได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ค่อยขยายหากต้องการทำเพื่อการค้า นำออกไปขายในชุมชน หมู่บ้านใกล้เคียงได้ จนกระทั้งขายในตลาด ปลีก ส่ง ตามความสามารถ การเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ จึงน่าจะเป็นอีกอาชีพเสริมที่น่าสนใจ เพราะอาหารยังไงก็ขายได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆด้วย

แนะนำการเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน(บ่อซีเมนต์)  

เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์แบบครัวเรือน เพื่อใช้เป็นอาหาร ลดค่าใช่จ่ายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งปลาดุกยังเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายด้วย ประโยชน์การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

1. ใช้พื้นที่น้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่

2. ใช้เวลาเลี้ยงสั้น รุ่นละประมาณ 90 – 120 วัน

3. ปลาดุกเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี

4. สามารถเลี้ยง ดูแลรักษาได้สะดวก บริโภคในครัวเรือนและส่วนที่เหลือนำไปจำหน่ายได้

การเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา

1. การเลือกสถานที่สร้างบ่อ

  • บ่อควรอยู่ใกล้บ้าน หรือที่สามารถดูแลได้สะดวก
  • ควรอยู่ในร่มหรือมีหลังคา เพราะปลาดุกไม่ชอบแสงแดดจัด และป้องกันเศษใบไม้ลงสู่บ่อจะทำให้น้ำเสียได้
  • มีแหล่งน้ำสำหรับเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวกพอสมควร

2. การสร้างบ่อ

  • บ่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูงประมาณ 40 ซม.
  • ควรมี 2 บ่อ เพื่อใช้คัดขนาดปลาและสำรองน้ำไว้ถ่ายเท
  • ผนังและพื้นบ่อควรใส่สารกันรั่วซึม
  • มีท่อระบายน้ำเพื่อช่วยในการถ่ายเทน้ำ

การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

1. การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยงปลา ให้ตัดต้นกล้วยเป็นท่อใส่ลงไปในบ่อ เติมน้ำให้ท่วม แช่ไว้ 3 – 5 วัน เปลี่ยนต้นกล้วยแล้วแช่ไว้อี่ครั้งเพื่อให้หมดฤทธิ์ปูนขาว แล้วล้างบ่อให้สะอาด

2. ตรวจสอบสภาพน้ำให้เป็นกลางหมดฤทธิ์ของปูน ถ้ามีตะใคร่น้ำเกาะติดที่ข้างบ่อปูนถึงจะดี

3. น้ำที่จะใช้เลี้ยงคือน้ำจากคลอง หนอง บึง ต้องตรวจสอบว่ามีศัตรูปลาเข้ามาในบ่อด้วยหรือเปล่า

4. น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำประปา ควรพักน้ำไว้ประมาณ 3 – 5 วัน ก่อนนำมาใช้ได้

อัตราการปล่อยปลาและเลี้ยงปลาดุกในบ่อ

1. ปลาเริ่มเลี้ยงความยาว 5 -7 ซม.

2. อัตราการปล่อยลงเลี้ยงในถังซีเมนต์กลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ถึก 40 ซม. ประมาณ 80 – 100 ตัว

3. ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรใส่เกลือแกลงประมาณ 2 – 3 ช้อนแกง เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำ

4. ระดับน้ำที่ปล่อยปลาครั้งแรก 10 -15 ซม.

5. การปล่อยปลาควรปล่อยในตอนเช้า

6. ควรนำถุงปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงแช่ในบ่อประมาณ 30 นาที เพื่อให้อุณหภูมิน้ำในถุงปลาและน้ำในบ่อไม่แตกต่างกันป้องกันปลาตายได้

7. ควรมีวัสดุให้ปลาหลบซ่อน เช่นท่อพีวีซีตัดเป็นท่อนหรือกระบอกไม้ไผ่ เพราะปลาตัวใหญ่จะกวนปลาตัวเล็ก

8. ควรมีการคัดขนาดปลา เมื่อมีอายุประมาณ 15 -20 วัน โดยนำตัวเล็กแยกไว้อีกบ่อหนึ่ง

9. ควรมีวัสดุช่วยบังแสงแดด

การถ่ายน้ำ

1. เริ่มเลี้ยงระดับน้ำลึก 10 – 15 ซม.

2. เพิ่มระดับน้ำอีก 5 – 10 ซม. เมื่อเลี้ยงไปได้ 10 – 15 วัน

3. ระดับน้ำสูงสุดไม่เกิน 40 ซม.

4. ถ่ายเทน้ำทุก 5 -7 วัน

5. ถ่ายเทน้ำแต่ละครั้งไม่ควรถ่ายจนหมด ถ่ายน้ำประมาณ 1 ส่วน 3 ของน้ำในบ่อ

6. ขณะถ่ายเทน้ำไม่ควรรบกวนให้ปลาดุกตกใจเพราะปลาจะไม่กินอาหาร 2-3 วัน

อาหารและการให้อาหาร

1. อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ
– ปล่อยปลาขนาด 5-7 ซม. ให้อาหารปลาดุกเล็ก
– ปลาขนาด 7 ซม. ขึ้นไป ให้อาหารปลาดุกรุ่น

2. อาหารสด เช่น เศษปลา ไส้ไก่ ปลวก โครงไก่ การให้อาหารควรให้อาหารวันละประมาณ 3 ครั้ง ในช่วงเช้า-เย็น ให้อาหารประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลาต่อวัน (หรือให้กินจนอิ่ม)

การป้องกันและรักษาโรคปลาดุก

1. ไม่ปล่อยปลาหนาแน่นเกินไป

2. ไม่ให้อาหารมากจนเกินไป

3. รักษาคุณภาพน้ำให้เหมาะสม

4. ถ่ายเทน้ำทุก 5-7 วัน

โรคปลาดุกและการรักษา

1. โรคกระโหลกร้าว แก้ไขโดยผสมวิตามินซี 1 กรัมกับอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 15 วัน

2. โรคจากเชื้อแบคทีเรียและแผลข้างตัว ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเททราไซคลิน 1 กรัม ผสมอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 7-10 วัน

3. หากมีปลาตายและเป็นแผลตามลำตัวให้ทำลายปลาตาย เช่น เผาหรือฝัง

การเลี้ยงปลาในบ่อปูนหรือบ่อซีเมนต์ นอกจากจะเริ่มต้นทำได้ง่ายแล้ว ยังใช้พื้นที่น้อย ลงทุนน้อย เหมาะสำหรับทำในครัวเรื่อนเพื่อลดค่าใช้จ่าย ถ้าสามารถทำได้ควบคู่กับกับการปลูกผักสวนครัวด้วยแล้ว จะเป็นการดียิ่งๆขึ้นไปอีกเพราะจะมีอาหารไว้บริโภคภายในครัวเรือนแบบค่าใช้จ่ายต่ำมาก อยู่แบบพอเพียง พอกิน เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างฐานะครอบครัวให้ดีและมั่นคงมากขึ้น

ขอบคุณ fisheries.go.th, dailynews.co.th,ภาพจากอินเตอร์เน็ต

Related Posts

This Post Has One Comment

  1. ชอบมากครับ อยากลองเลี้ยงที่บ้านดูซัก2-3บ่อ ถ้ามีคนต้องการซื้อเยอะก็จะทำเป็นธุรกิจเลยครับ แต่ต้องหยั่งดูผู้ซื้อก่อนครับ..ว่ามีความต้องการมากน้อยแค่ไหน ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลข้างต้นมากครับ เป็นประโยชน์มากๆครับ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *