ผ่อนบ้านไม่ไหว ทําไงดี 9 วิธีแก้ไขเมื่อผ่อนค่างวดบ้านไม่ไหว

ผ่อนบ้านไม่ไหว ทําไงดี ? เมื่อจะต้องเผชิญกับปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุอะไร ก็ไม่ควรหยุดผ่อนค่างวดบ้านหนีหายไปเฉยๆ หรือไม่ติดต่อกับสถาบันการเงินหรือธนาคารที่ให้กู้  เพราะยิ่งจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายกว่าเดิมเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับการผ่อนบ้าน แนวทางที่ถูกต้องควรที่จะเจรจาขอผ่อนผันหนี้กับธนาคารที่ปล่อยกู้ เพื่อปรับเงื่อนไขต่างๆที่ผูกพันรายจ่ายค่างวดบ้านใหม่ อาจจะเป็นชั่วคราวไปก่อนก็ได้ เพื่อให้วิกฤตทางการเงินที่เข้ามาในชีวิตคลี่คลายหรือผ่านพ้นไปก่อน ปัญหาเรื่องการเงินแบบนี้เชื่อแน่ว่าหลายๆคนในชีวิตอาจจะมีสักครั้งเป็นอย่างน้อย เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วสิ่งหนึ่งที่จะมีปัญหาก็คือกระทบต่อค่างวดบ้านที่เราผ่อน เมื่อมีปัญหาลองแก้ไขตามแนวทางนี้ดูอาจจะช่วยคุณได้

9 แนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องผ่อนค่างวดบ้าน

1. ขอผ่อนผันชำระยอดหนี้งวดบ้านค้างชำระ  อาจขอผ่อนชำระคืนยอดผ่อนบ้านไม่ไหว,ผ่อนบ้านไม่ไหว ทำไงดี,ปัญหาค่างวดบ้าน,เรื่องผ่อนบ้านไม่ไหว,แก้ปัญหาเรื่องค่างวดบ้าน,ผ่อนบ้านไม่ไหว ทำไง,ผ่อนบ้าน,แก้ไขปัญหาเรื่องผ่อนค่างวดบ้าน,ค้างค่างวดบ้าน วิธีแก้,ผ่อนบ้านไม่ไหว วิธีแก้หนี้ที่ค้างได้นานสูงสุด 36 เดือน ติดต่อกันโดยทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นการขอเฉลี่ยหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดออกเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน และผ่อนชำระคืนติดต่อกันทุกเดือน ลักษณะที่สองเป็นการชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดในเวลาที่ตกลง ( ไม่เป็นงวด ) หรือลักษณะสุดท้ายเป็นการขอชำระหนี้ที่ค้างเป็นเงินก้อนเป็นงวดๆ ตามเวลาที่ตกลง

2. ขอขยายเวลาชำระหนี้ค่างวดบ้าน (ในกรณีที่อายุยังไม่มาก) สามารถขอขยายระยะเวลากู้เงินต่อไปได้ถึง 30 ปี นับจากปัจจุบัน เพื่อลดเงินงวดให้น้อยลง ซึ่งเงื่อนไขโดยทั่วไปก็คืออายุของผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอขยายแล้วจะต้องไม่เกิน 70 ปี และดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมด (ถ้ามี) ลูกหนี้จะต้องชำระให้หมดเสียก่อน

3. ขอกู้เพิ่มเพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระ เป็นกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดได้ ลูกหนี้สามารถขอกู้เพิ่มเพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระพร้อมกับขยายระยะเวลากู้เงินได้ โดยเงื่อนไขโดยทั่วไปก็คือในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนการขอกู้เพิ่ม ลูกหนี้จะต้องชำระเงินงวดอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อนำวงเงินที่ขอกู้เพิ่มรวมกับเงินต้นคงเหลือแล้ว เงินงวดใหม่ต้องมากกว่าไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินงวดเดิม

4. ขอชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือน ในบางช่วงเวลาลูกหนี้อาจขอผ่อนชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือนได้ ปกติเงื่อนไขแบบนี้จะให้เฉพาะกับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระงวดบ้านคืนที่ดีเท่านั้น และระยะเวลาผ่อนชำระจะให้ได้นานสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน และขอดำเนินการได้ครั้งเดียว วิธีนี้ก็ต้องลองขอเจรจาหากว่าเราขาดสภาพคล่องชั่วคราว เมื่อฐานะทางการเงินเราดีแล้วค่อยชำระค่างวดบ้านตามปกติ

5. ขอชำระต่ำกว่าเงินค่างวดบ้านปกติที่ชำระ (ถ้ามันสุดๆแล้ว) ปกติเงื่อนไขการขอผ่อนผันแบบนี้ มักกำหนดให้จำนวนเงินที่ชำระต่ำกว่าเงินงวดปกตินั้น ต้องมากกว่าดอกเบี้ยประจำเดือนอย่างน้อย 500 บาท ระยะเวลาผ่อนชำระได้นานสูงสุดไม่เกิน 2 ปี และขอดำเนินการได้ครั้งเดียว

6. ขอลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เป็นการขอผ่อนผันในกรณีที่ลูกหนี้ถูกปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากอัตราปกติ ลูกหนี้สามารถแจ้งขอลดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ชำระเงินได้หากลูกหนี้ได้ชำระเงินตามเงื่อนไข คือชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดในวันเดียว (รวมทั้งดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดด้วย) หรือชำระหนี้ที่ค้างเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเท่ากับ 3 งวด

7. ขอโอนบ้านให้กับสถาบันการเงินเป็นการชั่วคราว แล้วซื้อคืนภายหลัง ปกติสถาบันการเงินจะรับโอนหลักประกัน โดยหักกลบลบหนี้ในจำนวนไม่เกิน 90 % ของมูลค่าหลักประกัน หากมีหนี้ส่วนที่เกิน ลูกหนี้จะต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่โอน โดยหลักประกันจะต้องอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือในเขตเทศบาลของจังหวัดอื่นเท่านั้น สถาบันการเงินจะคิดค่าเช่าในอัตราเดือนละ 0.4 – 0.6 % ของมูลค่าหลักประกัน ทำสัญญา 1 ปี เมื่อครบกำหนด 1 ปี แล้วจะต่อสัญญาจากพฤติกรรมการอยู่อาศัยและการปฏิบัติตามสัญญาเช่า ผู้เช่าต้องวางเงินประกันค่าเสียหายในวงเงินค่าเช่า 1 เดือน พร้อมทั้งชำระค่าเช่าล่วงหน้า 1 เดือน ภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า เมื่อผู้เช่ารายใดมีความประสงค์ที่จะขอซื้อคืน สถาบันการเงินจะขายคืนให้ ราคาที่ขายคืนปกติจะพิจารณาจากยอดหนี้คงเหลือที่ใช้หักกลบลบหนี้กับหลักประกัน ทั้งนี้ในการซื้อคืนของลูกหนี้ผู้เช่าอยู่อาศัยสามารถขอสินเชื่อได้ด้วย

8. ขอให้สถาบันการเงินชะลอฟ้อง เงื่อนไขโดยทั่วไปก็คือลูกหนี้จะต้องชำระเงินติดต่อกันให้ทันงวดภายใน 6 เดือน แล้วผ่อนชำระต่อตามสัญญาเดิม หรือขอชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือน โดยไม่ผิดนัดชำระงวดบ้านเป็นเวลาไม่เกิน 12 เดือน เมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาที่ขอผ่อนผันแล้ว หากลูกหนี้ชำระหนี้ตามข้อตกลงโดยไม่ขาดส่ง สถาบันการเงินก็จะคำนวณเงินงวดใหม่ที่ลูกหนี้ต้องชำระต่อไป

9. กู้ที่ทำงาน หากคุณมีภาระหนี้คงเหลือไม่มากนัก ถ้ามีสวัสดิการการเงินอื่นๆ ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า เช่น มีสวัสดิการเงินกู้ยืมของบริษัท ที่เสียดอกเบี้ยจ่ายในอัตราที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยจ่ายบ้านที่คุณจ่ายอยู่ หรือสถาบันการเงินในที่ทำงาน อาจเลือกกู้เงินจากสวัสดิการมาปิดภาระหนี้บ้าน และไปผ่อนสวัสดิการแทน จะช่วยให้ลดภาระดอกเบี้ยจ่ายได้

จาก 9 วิธีในการแก้ปัญหาเมื่อผ่อนค่างวดบ้านไม่ไหว ในกรณีที่ยังไม่เกิดการฟ้องร้องหรือกำลังเป็นปัญหาในระยะเริ่มต้น เป็นอีกแนวทางที่ช่วยแก้ปัญหาค่างวดบ้านเมื่อผ่อนไม่ไหว หรือมีปัญหาทางการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องปกติในชีวิตที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ขอบคุณอ้างอิงจาก k-expert, Home buying as an investment ภาพจากอินเตอร์เน็ต

Related Posts

This Post Has 2 Comments

  1. เป็นทางแก้ปัญหาผ่อนบ้านที่ดีมากคับ ขอบคุณ จะลองนำไปใช้ดูครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *