วิธีปลูกมะละกอ ให้ได้ผลผลิตดี เอาไว้กิน ไว้ขาย มะละกอ หรือภาษาอีสานเรียกว่า บักหุ่ง ถ้าได้ชื่อว่าเป็นคนไทยแล้วคงต้องรู้จักมะละกอเป็นอย่างดีหรือถ้ายังไม่รู้จักมะละกอ ลองได้เอ่ยชื่ออาหารว่า ส้มตำ คงต้องร้องอ๋อแน่นอน เพราะเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของคนไทย โดยเฉพาะคนอีสานนี่ชอบเป็นชีวิตจิตใจเลยก็มี ปกติแล้วมักจะปลูกไว้ในสวนในสมัยก่อนเกือบจะีกันทุกๆบ้านเลยก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันมะละกอได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ทั้งนำมาทำเป็นอาหารและเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่นๆ แม้แต่เครื่องสำอางยังมีเลย
การปลูกมะละกอ
ถ้าปลูกแค่ไว้กินเองในครอบครัว คงไม่ต้องศึกษาการดูแลเป็นพิเศษก็ได้ มีพันธุ์ที่ดี หรือที่ต้องการ มีที่เพาะปลูก ก็เป็นอันใช้ได้ เพราะถ้าปลูกไม่มากก็ดูแลง่ายอยู่แล้ว แต่ถ้าใครที่สนใจอยากจะเริ่มศึกษาและทดลองปลูกเพื่อเป็นแนวทางสู่การปลูกมะละกอขายหรือเชิงการค้า ก็ควรเริ่มศึกษา ทั้งทางด้านตลาด ต้นทุน พร้อมๆกับลงมือปลูกมะละกอถ้ามือใหม่จริงๆการเริ่มจากปลูกน้อยๆก็จะช่วยลดความเสี่ยง เมื่อชำนาญหรือมั่นใจตลาดมะละกอแล้วค่อยขยายจำนวนการปลูกเพิ่มมากขึ้น ตามความต้องการของตลาด
พันธุ์มะละกอที่นิยมนำมาปลูกเป็นการค้า
ถึงแม้ว่ามะละกอจะมีมากมายหลายพันธุ์ แต่เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีความ ไว่ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์เท่านั้นที่เหมาะกับสภาพดินฟ้า อากาศของบ้านเรา
1. มะละกอพันธุ์แขกนวล นิยมปลูกเพื่อขายผลดิบลักษณะผลยาวผิวผลเรียบสีเขียวอ่อน นวล เนื้อแน่นกรอบเหมาะสำหรับทำส้มตำ ผลสุกเนื้อสีส้มแดง
2. มะละกอพันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ขายได้ทั้งผลดิบและผลสุก ผลสุกมีรสหวานมีเม็ดน้อยเนื้อสีส้มแดง ผลดิบเนื้อแน่นกรอบใช้ทำส้มตำได้ดี
3. มะละกอพันธุ์แขกดำท่าพระ มีลักษณะดีคือมีความต้านทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ในระดับหนึ่ง ต้นเตีย น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม/ผล เนื้อหนา ผลสุกเนื้อสีเหลืองอมส้ม
4. มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ เหมาะสำหรับขายผลสุก ผลรูปทรงกระบอก น้ำหนักผลประมาณ 8 ขีด ถึง 1.5 กิโลกรัม เนื้อสีส้มแดง เนื้อหนาและแน่น ไม่เละ มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย ความหวานสูง
5. มะละกอพันธุ์ปากช่อง เหมาะสำหรับขายผลสุก เป็นพันธ์ที่สถานีวิจัยปากช่อง ทำการผสมและปรับปรุงพันธุ์จากมะละกอพันธุ์ซันไรส์โซโล ของประเทศใต้หวัน ขนาดผลประมาณ3-5ขีด เนื้อสีส้ม แข็งกรอบ รสหวานมีเปอร์เซนต์น้ำตาลสูง
6. มะละกอพันธุ์เรดเลดี้ เป็นพันธุ์ที่ติดผลดก น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5-2 กิโลกรัม เหมาะสำหรับขายผลสุก เนื้อสีแดง หวานกรอบ กลิ่นหอม
เมื่อเลือกพันธุ์มะละกอตามที่ต้องการแล้วก็ลองมาเริ่มปลูกกันเลย
การเตรียมต้นกล้ามะละกอ มะละกอไม่เหมาะที่จะหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในขั้นแรกมาก เพราะพื้นที่กว้างขวางและต้นกล้าที่งอกใหม่ๆ ต้องการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้น การเตรียมต้นกล้ามะละกอให้แข็งแรงก่อนแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงปลูก จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง การเตรียมต้นกล้ามะละกออาจใช้วิธีต่าง ๆ ได้ 2 แบบ คือ เพาะเมล็ดลงถุง และ เพาะเมล็ดลงแปลงเพาะ แล้วย้ายลงถุง
1. การเพาะเมล็ดลงถุง การเพาะเมล็ดลงถุงโดยตรงนั้น เป็นวิธีที่สะดวก เตรียมดินผสมที่จะใช้เพาะเมล็ดให้ร่วนโปร่ง โดยผสมดิน 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน และอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปุ๋ยคอกนั้นควรเป็นปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว และไม่ร้อน ส่วนอินทรียวัตถุอาจเป็นเศษหญ้าสับ แกลบหรือถ่านหรือเปลือกถั่วก็ได้ แล้วแต่จะหาอะไรได้ในท้องถิ่น นำ ดินที่ผสมแล้วใส่ถุงขนาด 5 x 8 นิ้ว ที่เจาะรูระบายนํ้าเรียบร้อยแล้วประมาณ 4 รูตั้งเรียงไว้กลางแจ้งในบริเวณที่สามารถให้นํ้าได้อย่างสมํ่าเสมอทุกวันหลังจากนั้นฝังเมล็ดมะละกอลงไปใต้ดินให้ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตร ถุงละ 3 เมล็ด รดนํ้าให้ชุ่มทุกเช้าเย็น เมล็ดจะเริ่มงอกภายใน10-14 วัน หลังปลูก เมื่อต้นมะละกอมีใบจริง 2-3 ใบ ให้เลือกกล้าต้นที่แข็งแรงเอาไว้ถอนต้นที่อ่อนแอออกในการเพาะเมล็ดนี้ ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำ จัดราพวกแมนโคเซบผสมยาป้องกันแมลงประเภทโมโนโครโตฟอสและยาจับใบฉีดครั้งแรกเมื่อต้นกล้าเริ่มงอกและหลังจากนั้นฉีดทุก ๆ 10 วัน จนกว่าจะย้ายกล้าลงแปลงปลูก ซึ่งจะสามารถย้ายกล้าปลูกเมื่อเพาะเมล็ดได้ 45-60 วันหลังจากถอนแยกต้นกล้าเหลือต้นเดียวแล้ว อาจสามารถเร่งให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้เร็วขึ้นโดยให้ปุ๋ยสูตร 21-21-21 ที่มีธาตุอาหารรองผสมอยู่ด้วย โดยใช้ปุ๋ยอัตรา 2 ช้อนแกงต่อนํ้า 20 ลิตร และผสมยาจับใบฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน
2. การเพาะเมล็ดลงแปลงเพาะหรือกะบะเพาะแล้วย้ายลงถุง เตรียมแปลงเพาะกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 3-5 เมตร ให้ความยาวแปลงอยู่ในแนวทิศเหนือใต้ ย่อยดินให้ละเอียดและผสมปุ๋ยคอกประมาณตารางเมตรละ 2 กิโลกรัม คลุกเคล้าปุ๋ยคอกกับดินที่ย่อยแล้วให้เข้ากัน แล้วยกเป็นรูปแปลงสูงจากระดับดินเดิม 15 ซม. แล้วใช้ไม้ขีดทำ ร่องแถว ตามความกว้างของแปลงลึกประมาณ 1 ซม. ให้แถวห่างกัน 25 ซม. จากนั้นโรยเมล็ดมะละกอลงในร่องแถวให้ห่างกันพอประมาณ จนตลอดแปลง หลังจากนั้นจึงรดนํ้าให้ชุ่ม ผสมด้วยยาฆ่าแมลงเพื่อกันมดคาบเมล็ดไป อาจใช้เซฟวิน85 หรือ S-85 ก็ได้ และรดนํ้าให้ชุ่มทุกวันเช้า-เย็น-เมื่อต้นกล้ามีใบจริงได้ 2-3 ใบ หรือประมาณ 21-25 วัน หลังจากเพาะให้ย้ายกล้าลงถุงพลาสติกขนาด 5 x 8 นิ้ว ถุงละ 1 ต้นตั้งเรียงไว้ในที่ร่มมีแสง 50% ฉีดยาพ่นป้องกันโรคแมลง และให้ปุ๋ยเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดลงถุงโดยตรง
การเลือกพื้นที่ปลูกมะละกอ มะละกอเป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนดินทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายนํ้าดี มีอินทรีย์วัตถุมาก ไม่ชอบนํ้าขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงในการเลือกพื้นที่ที่มีลมแรง ไม่ได้ควรทำ แนวไม้กันลมโดยรอบด้วยมะละกอจะเจริญเติบโตได้ดี ถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่ มะละกอมีก้านใบยาวและกลุ่มใบจะมีมากที่ยอด จึงไม่ควรปลูกมะละกอให้ชิดกันเกินไป จะทำ ให้ไม่สะดวกในการป้องกันกำ จัดศัตรูของมะละกอระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 4 x 3 เมตร หรือ 3 x 3 เมตร หรือ 2.5 x 3 เมตร แหล่งปลูกมะละกอควรอยู่ใกล้เมืองหรือมีทางคมนาคมสะดวก เนื่องจากผิวมะละกอบาง ทำ ให้เกิดการชอกชํ้าในการขนส่งได้ง่ายกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ
การเตรียมแปลงปลูก
1.ไถพื้นที่ปราบวัชพืช 2 ครั้ง ๆ แรกด้วยไถ 3 ผาน หรือ 4 ผาน ครั้งที่ 2 ให้ย่อยดินให้เล็กด้วยผาน 7
2.วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูกอีก 2 หลักโดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร
3.ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 ซม.และขุดลึก 50 ซม. เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับ
4.ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ ประมาณ 1 พลั่วหรือครึ่งบุ้งกี๋ลงบนดินที่ขุดขึ้นมา และใส่ร๊อกฟอสเฟตลงไปอีก 100 กรัม ถ้าไม่มีร๊อกฟอสเฟตให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่แทนจำ นวน20 กรัม หรือประมาณ 2 ช้อนแกงต่อหลุม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม
5.ก่อนปลูก หาไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตร ทำ เครื่องหมายที่ตำ แหน่ง 0.00, 0.50เมตร และ 1 เมตร เป็นเครื่องหมายต้นปลูก เพื่อให้แถวปลูกตรงกันทุกด้าน
วิธีการปลูกมะละกอ
ให้นำต้นกล้าเรียงกระจายไว้ตามหลุมต่าง ๆ หลุมละหนึ่งถุง หลังจากนั้นกรีดถุงพลาสติกออก เอาต้นกล้าวางให้ตรงตำ แหน่งระยะปลูกกลางหลุม กลบดินให้แน่น โดยเฉพาะรอบ ๆ โคนต้นเพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว ต้นจะตรงกันทุกแถวแล้วรดนํ้าให้ชุ่มถ้าเกษตรกรปลูกมะละกอช่วงต้นฤดูฝน จะช่วยประหยัดทุนและแรงงานในการให้นํ้า โดยเฉพาะในช่วงปลูกใหม่ ๆ จะต้องให้นํ้ากับต้นกล้ามะละกอจนตั้งตัวได้ โดยรดนํ้า 2-3 วันต่อครั้ง
ข้อสำคัญ คือช่วงที่มะละกอออกดอกติดผลเป็นช่วงที่ต้องการนํ้ามาก การขาดนํ้าจะทำ ให้ดอกร่วง ผลร่วง ผลไม่สมบูรณ์ การให้นํ้ากับต้นมะละกออย่างสมํ่าเสมอ จึงทำให้มะละกอมีผลผลิตสูง โดยเฉพาะมะละกอที่ปลูกในที่ดอน หรือในเขตจังหวัดในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การให้ปุ๋ยมะละกอ
ปุ๋ยมะละกอที่เตรียมไว้สำ หรับรองก้นหลุมนั้น ยังไม่พอเพียงสำ หรับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต จึงต้องมีการให้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตเต็มที่ มีลำ ต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 เดือน โดยแบ่งใส่ 3-4 ครั้ง ในระยะ 1 ปี ตลอดช่วงฤดูฝน แบ่งใส่ครั้งละประมาณ 5 กิโลกรัมต่อต้นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ อาจใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 21-21-21 ชนิดที่มีอาหารธาตุรองฉีดพ่นทุก 14 วันต่อครั้ง หลังย้ายปลูกเพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง โดยใช้ในอัตรา 2 ช้อนแกง ต่อนํ้า 20 ลิตร ขณะเดียวกัน ก็อาจใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 50 กรัมหลังจากย้ายปลูก1เดือน และใส่ทุกเดือนจนถึงเดือนที่ 3 หลังย้ายปลูกจะใส่เพิ่มเป็นต้นละ 100 กรัมทุกเดือน เมื่อมะละกอติดผลแล้วจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 100 กรัม ผสมกับยูเรีย อัตรา 50 กรัมต่อต้นวิธีการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ทางดิน ให้ใส่ปุ๋ยหว่านทางดิน พรวนกลบแล้วรดนํ้าตามอย่าใส่ปุ๋ยกลบโคนต้น
การกำจัดวัชพืช ในระยะที่ปลูกมะละกอใหม่ๆ เกษตรกรสามารถปลูกพืชแซมร่วมกับมะละกอในช่องว่างระหว่างแถว ระหว่างต้น เมื่อมีวัชพืชขึ้น การดายหญ้าพืชแซมควรดายหญ้ามะละกอไปด้วย แต่การดายหญ้าด้วยจอบควรระวังคมจอบสับต้นหรือรากมะละกอ จะทำ ให้ต้นมะละกอชะงักการเจริญเติบโต หรือทำ ให้เกิดโรครากเน่าได้ ทางที่ดีควรใช้เศษหญ้าแห้งคลุมโคนต้นให้หนา ๆ จะทำ ให้ไม่มีเมล็ดหญ้างอกใหม่
ศัตรูของมะละกอ ที่ควรศึกษาไว้ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
การป้องกันและแก้ปัญหาศัตรูของมะละกอนั้น อาจจะใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์หรือทางเคมีแล้วแต่ความต้องการของผู้ปลูกหรือตามกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจำหน่าย หรือแบบจะผสมผสาน ถ้าสามารถปลูกแบบแนวทางเกษตรอินทรีย์หรือแบบปลอดสารได้ยิ่งดี แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงหลายๆปัจจัยหากจะทำเชิงการค้า ซึ่งศัตรูของมะละกอที่สำคัญมีดังนี้
1. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็กมาก มี 6 ขา มีลำ ตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่มีปีกยาวบนหลังจึงบิดได้และปลิวไปตามลมได้ด้วย มักพบระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูแล้ง อาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีนํ้าตาลถ้าเป็นกับผลทำ ให้ผลกร้านเป็นสีนํ้าตาล ในฤดูฝนจะไม่ค่อยพบ ถ้าพบอาจใช้นํ้าฉีดพ่นแรงๆ ให้หล่นไป หรือใช้ยาฆ่าแมลงพวกไดเมชโซเอท หรือโมโนโครดตฟอส ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน
2. ไรแดง เป็นสัตว์ขนาดเล็กมี 8 ขา จะทำ ให้ผิวใบจะไม่เขียวปกติเกิดเป็นฝ้าด่าง ถ้าดูใกล้ๆจะพบตัวไรสีคลํ้าๆ อยู่เป็นจำ นวนมาก เดินกระจายไม่ว่องไว หรืออาจเห็นคราบไรสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูธรรมชาติคือด้วยเต่าเล็ก ตัวดำ ลำ ตัวรี ตัวอ่อนด้วงเต่าก็กินไรได้ดีถ้ามีไรระบาดมากให้ใช้ยากำ จัดไรพวกไดโดโฟล เช่น เคอเรน ไดโคล ฯลฯ ในอัตรา 30-40 ซีซี ผสมนํ้า 20 ลิตร ฉีดพ่น
3. แมลงวันทองเป็นแมลงที่ทำ ลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก่ ทำ ให้หนอนที่ฟักเป็นตัว ทำ ลายเนื้อของผลเสียหาย เมื่ออยู่บนต้นหรือในขณะบ่มผลแมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินชื้นตัวเต็มวัยจะขึ้นจากดินมาผสมพันธุ์กัน และวางไข่ได้หลายจิด ช่วงที่ทำ ความเสียหายให้กับเกษตรกรมากที่สุดคือ ระยะที่เป็นตัวหนอน มักจะพบในมะละกอสุกทำ ให้ผู้บริโภคเสียความรู้สึกในการรับประทานทางป้องกันคือ เก็บผลมีสีเหลืองที่ผิว 5% ของพื้นที่ผิวผล ไม่ปล่อยให้สุกคาต้นร่วมกับการใช้มาลาไธออนฉีดพ่นทำ ลายตัวเต็มวัย และล่อตัวผู้ด้วยเมธธิลยูจีนอล ผสมยาฆ่าแมลงพวกมาลาไธออน อัตรา 1:1 หรือห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเก็บผลที่เน่าเสีย เนื่องจากแมลงและโรคออกจากแปลงปลูกฝังดินลึกๆ หรือเผาไฟ
4. เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงดูดที่สำ คัญชนิดหนึ่งในมะละกอ สันนิษฐานกันว่าเป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งโรคนี้พบว่ากำ ลังเป็นกับมะละกอในแหล่งผลิตทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
5. โรคใบด่างของมะละกอ อาการที่เกิดกับต้นกล้ามะละกอจะแสดงอาการใบด่างผิดปกติ ใบมีขนาดเล็กลง สีซีดต่อมาใบร่วงและทำ ให้ต้นตายสำ หรับต้นที่โตแล้ว จะแสดงอาการโดยใบยอดเหลืองซีด ใบมีขนาดเล็กลง ก้านใบสั้น ใบด่างสีเหลืองสลับเขียว ส่วนต้นหรือก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเข้ม มะละกอจะให้ผลผลิต น้อยหรือไม่ได้ผลเลย สาเหตุเกิดจากเชื้อปาปายาริงสปอทไวรัส ถ้าพบว่าเป็นโรคต้องโค่นทิ้งและไม่นำ มีดที่มีเชื้อไปตัดต้นดีเพราะจะทำ ให้เชื้อแพร่กระจายไปได้และฉีดพ่นยาป้องกันเพลี้ยอ่อน หรือเพลี้ยอื่นๆ บางชนิด เช่น เพลี้ยไก่ฟ้า ไม่ให้มาดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ปกติ นอกจากนี้อาจใช้พันธุ์ต้านทานปลูกก็ได้
6. โรคราแป้ง อาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นของเชื้อราเป็นขุยสีขาวๆคล้ายแป้งที่บนใบ ก้านใบ และผล ใบอ่อนที่ถูกทำ ลายจะร่วงหรือใบเสียรูป ยอดชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนมากๆ ถ้าเป็นโรคผลจะร่วง แต่ถ้าเป็นกับผลโตผลจะไม่ร่วงยังเจริญเติบโตได้ แต่ผิวจะกร้าน และขรุขระไม่น่าดู ส่วนที่ก้านนั้นมีสีเทาจาง ๆ แผลจะมีขอบเขตไม่แน่นอน
โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์ปลิวไปตามลมแพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โรคนี้มักจะเกิดในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาวควรพ่นด้วยสารป้องกันกำ จัดโรครา เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือไดโนแคพ 20 กรัมต่อนํ้า 30 ลิตร
7. โรคโคนเน่า อาการของโรคพบทั้งที่ราก และโคนลำ ต้น อาการเน่าที่โคนต้นจะเน่าบริเวณระดับดิน แผลจะลุกลามมากขึ้น และจะปรากฏอาการที่ใบทำ ให้ใบเหี่ยวและเหลือง ยืนต้นตายหรือล้มได้ง่ายที่สุดเพราะเมื่อโคนลำ ต้นเน่า ก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละหมด ไม่มีส่วนแข็งแรงที่จะทรงตัวอยู่ได้โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora plamivora พบเป็นมากในฤดูฝน เชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน เมื่อมะละกอเจริญเติบโต เชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เมื่อมีความชื้นสูงโดยสปอร์จะไหลไปกับนํ้าเข้าทำ ลายต้นอื่นถ้าหากมีนํ้าท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย การจัดระบบปลูกให้มีการระบายนํ้าที่ดีจึงเป็นสิ่งจำ เป็น ฉะนั้น เมื่อปรากฏอาการของโรคควรถอน ขุดทำ ลาย ถ้าตรวจพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าทำ ลายก็ควรรดด้วยสารเคมี เช่น เมธาแลคซีล 20 กรัมต่อนํ้า 20ลิตร ฟอสเอ็ทธิลอลูมินั่ม 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
8. โรคแอนแทรคโนส อาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย ส่วนที่ผลแก่จะเกิดจุดแผลสีนํ้าตาลลุกลามเป็นวงกลม เมื่อผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้น และเนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคจะยิ่งลุกลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือแผลกลมนุ่ม และเป็นวงซ้อน ๆกัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาดเกิดจาก เชื้อรา Colletotrichum gloeosporieides (Glomerella cingulata) เชื้อราชนิดนี้ ทำ ลายทั้งใบอ่อนและผล ความสำ คัญและพบระบาดเสมออยู่ที่ผลสปอร์ของเชื้อราดังกล่าวจะแพร่ระบาดไปยังผลมะละกอในต้นเดียวกันและต้นอื่น ๆ ตลอดจนในภาชนะบรรจุผลมะละกอได้โดยง่าย โดยอาศัยอาการสัมผัสติดไปหรือลมเป็นพาหนะนำ เชื้อโรคไป การป้องกันและกำ จัดถ้าโรคระบาดในแปลงปลูกขั้นรุนแรงก็พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร แมนโคเซป แคปแทน 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
การเก็บผลผลิต มะละกอ ต้องเป็นมืออาชีพ
มะละกอจะมีผลเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 7-8 เดือน การเก็บเกี่ยวผลต้องเป็นมืออาชีพ เพราะมะละกอ ชำง่าย มีรอยง่าย ควรเลือกเก็บเกี่ยวผลที่มีผิวสีส้มประมาณ 5 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ผิวผลให้ใช้มีดหรือกรรไกรตัดขั้วผลมะละกอให้ติดต้น แล้วตัดขั้วผลมะละกอที่ยาวออกภายหลัง ห้ามใช้มือบิดผลเพราะทำ ให้ขั้วชํ้า และเชื้อราสามารถจะเข้าทำ ลายทางขั้วที่ติดต้นทำ ให้ต้นเน่าเสียหายได้ มะละกอจะให้ผลแก่ทะยอยกันไปเรื่อย ๆ มะละกอมีอายุยืนยาวมากน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ยิ่งอายุมากตำแหน่งของผลจะอยู่สูงขึ้นไปมาก ทำให้ไม่สะดวกในการเก็บเกี่ยวผล การปลูกมะละกอในบางเขตจึงนิยมเก็บเกี่ยวผลจนอายุประมาณ 11/2- 2 ปี จึงปลูกใหม่ สำหรับคนที่ปลูกมะละกอไว้กินเองที่บ้าน ถ้าต้องการผลสุกก็ควรปล่อยให้สุกคาต้นเกือบทั้งผลค่อยเก็บเพราะจะทำให้มีรสชาติดีหวานฉ่ำยิ่งขึ้น
ตลาดมะละกอ การตลาดเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นแล้วคนที่สนใจอยากจะปลูกมะละกอขาย ทั้งเป็นอาชีพเสริมหรือทำเป็นอาชีพหลัก ควรศึกษาการตลาด คำนวณต้นทุน ตลอดจนมีแผนฉุกเฉินเกิดมีปัญาขึ้นจะได้เตรียมตัวได้ทันและแก้ไขปัญหาได้อย่างดี นอกจากนี้แล้วถ้าสามารถปลูกได้เป็นจำนวนมากและคุณภาพดี มีการบรรจุหีบห่อสวยงาม เก็บได้นาน เคลื่อนย้ายสะดวก เชื่อแน่ว่าตลาดอาจจะเป็นคนวิ่งเข้ามาหาเอง..ถ้าขายส่งให้หลายๆเจ้าได้แม้จะกำไรน้อยกว่าขายปลีกเองแต่ความเสี่ยงต่ำทำให้มีโอกาสในการแข่งขันมากขึ้น
ขอบคุณ ที่มาและอ้างอิงข้อมูลจาก sites.google.com/site/papayazap/,ภาพจาก taladsimummuang.com
เรียบเรียงโดย บางกอกทูเดย์.เน็ต