ก้อนเชื้อเห็ด เป็นสิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่างของการเพาะเห็ด ดังนั้นแล้วเมื่อมีการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ จะต้องรู้จักวิธีการดูแลรักษาตลอดระยะเวลาที่ใช้ก้อนเชื้อเห็ดนั้นๆ รวมถึงเมื่อก้อนเชื้อหมดอายุแล้วจะต้องบริการจัดการให้เป็น การรักษาความสะอาดและการหมดอายุของก้อนเชื้อ ปัจจัยหนึ่งที่ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยต่อความสำเร็จในการเพาะเห็ดระยะยาวก็ว่าได้คือ
การรักษาความสะอาดและการหมดอายุของก้อนเชื้อเห็ด
การรักษาความสะอาดภายในโรงเรือน ให้อย่างถูกต้อง จงอย่าลืมว่า วัสดุที่ใช้เพาะเห็ด ก็คือ อาหารชั้นเลิศของจุลินทรีย์แทบทุกชนิด เชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวจะมีทั้งอยู่ทั่วไปในธรรมชาติอยู่แล้วไม่มีผลประการใดกับเห็ด บางชนิดมีประโยชน์ช่วยเสริมการเจริญเติบโตของดอกเห็ด และป้องกันไม่ให้เชื้ออย่างอื่นเข้ามาทำลายก้อนเชื้อเห็ด แต่ก็มีเชื้อจุลินทรีย์ บางชนิดที่เป็นคู่แข่งหรือเป็นศัตรู เห็ด ส่วนใหญ่มักจะเป็นเชื้อจุลินทรีย์ ที่เกิดจากการสะสมหมักหมมของสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย เช่น จากเศษก้านดอกเห็ด วัสดุเพาะเห็ดที่ตกหล่นอยู่กับพื้น ก้อนเชื้อเห็ดที่เกิดโรค ก้อนเชื้อเห็ดที่หมดอายุแล้วหรือก้อนเชื้อเห็ดเก่า หากปล่อยทิ้งไว้ในโรงเรือน จะมีการสะสมเชื้อโรคเกิดขึ้น และจะมีผลโดยตรง ต่อคุณภาพของดอกเห็ด และผลผลิต ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาความสะอาดภายในโรงเรือนเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้มีเศษของก้านเห็ดที่เก็บเกี่ยวแล้วหลงเหลือ หรือวัสดุเพาะเห็ดที่ตกลงกับพื้นจะต้องรีบทำความสะอาดแล้วล้างพื้นให้สะอาดทุกครั้ง ก้อนเชื้อเห็ดก้อนใดที่เสียต้องรีบแก้ไขและแยกออกไปไว้ต่างหาก ไม่ควรนำมาไว้ในโรงเรือนเดียวกัน ก้อนเชื้อเห็ดที่หมดอายุแล้ว สังเกตจากก้อนเชื้อจะนิ่ม เละ และไม่ให้ผลผลิตแล้ว ต้องรีบนำเอาออกไปจากโรงเรือน ทุกๆ 2-3 วัน ควรทำการล้างพื้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ปลอดภัย เช่น ใช้ไฮโดรเปอร์ออกไซด์ 3 % (ปลอดภัยที่สุด ใช้บ้วนปาก ล้างหู และล้างแผลได้) ราดทั่วบริเวณพื้น หรือแม้กระทั่ง ก้อนเชื้อเห็ดที่เป็นโรคโรค หรือ อาจใช้น้ำยาคลอรีนแทนในการล้างพื้น (อย่าฉีดใส่ก้อนเห็ดอย่างเด็ดขาด เพราะมันจะมันจะฆ่าเชื้อเห็ดไปด้วย )แต่ควรใช้น้ำยาคลอรีน แทนในการล้างพื้น (อย่าฉีดใส่ก้อนเห็ดอย่างเด็ดขาดเพราะมันจะฆ่าเชื้อเห็ดไปด้วย) แต่ควรใช้ในปริมาณที่เจือจาง ที่สุด ประมาณ 20-30 พีพีเอ็ม(ส่วนในล้าน)นอกจากจะทำการฉีดล้างพื้นแล้ว ในส่วนที่ไม่มีก้อนเชื้อเห็ด เช่น บริเวณ ฝาผนัง(ส่วนในล้าน) นอกจากจะทำการฉีดล้างพื้นแล้ว ในส่วนที่ไม่มีก้อนเชื้อเห็ด เช่น บริเวณฝาผนังควรทำ การฉีดฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอด้วย
แมลงคือตัวนำเชื้อโรคมาสู่ก้อนเห็ด สาเหตุที่สำคัญในการเกิดเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโทษต่อเห็ด เกิดจากการเข้าทำลายของแมลง ต่างๆที่เข้ามาทำลายก้อนเชื้อและดอกเห็ด ทั้งนี้เนื่องจากทั้งก้อนเชื้อและดอกเห็ด มีกลิ่นหอม ที่แมลงชอบ จะสังเกตได้จากเวลา เปิดดอกเห็ดไปสักพักหนึ่ง จะมีแมลง หลากหลาย เช่น แมลง หวี่ชนิดต่างๆ แมลงด้วงปีกแข็ง ไร มด แมลงสาบ แม้กระทั่งตัวทาก สัตว์ต่างๆเหล่านี้ นอกจาก จะสร้างปัญหา ทำลายเส้นใย และดอกเห็ดโดยตรง แล้ว ยังเป็นพาหะ นำโรคเข้ามาให้แก่เห็ด อีกด้วยเกษตรกรส่วนใหญ่ เมื่อสังเกต เห็นการระบาด ของแมลง มักจะใช้ วิธีที่ถือ ปฏิบัติ กันกับพืช ด้วยการ ใช้สารเคมี ฉีดพ่น ซึ่งนับว่าเป็นอันตราย อย่างยิ่งเนื่องดอกเห็ดจะดูดเอาสารพิษเข้าไปได้ค่อนข้างมาก และใช้เวลาไม่ถึง 24 ชม. ก็จะถูกเก็บเกี่ยวเอาไปจำหน่ายหรือบริโภค แล้วระยะเวลา ดังกล่าว สารพิษทั้งหลาย ยังไม่ทันสลายตัว อาจทำให้ผู้บริโภค ได้รับสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายไปด้วย การแก้ปัญหาการเข้าทำลายของหนอนหรือแมลงนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีที่เป็นโทษ ต่อผู้บริโภคเลยก็ได้ เรา สามารถใช้สารธรรมชาติ เช่น สารสกัดจากสมุนไพร เช่น ข่าแก่ ตะไคร้ ใบกระเพรา โหระพา แมงลัก สะเดา หนอนตายหยาก ใบยาสูบ ฉีดเข้าไปทั่วโรงเรือน หรือแม้กระทั่ง ก้อนเชื้อเห็ด เพื่อลด ความหอมของเชื้อเห็ด เพิ่มกลิ่น ที่แมลงไม่ชอบเข้าไป จะช่วยลดปริมาณ การระบาด ของศัตรูเห็ดได้
การเสริมธาตุอาหารเพิ่มเพิ่มผลผลิตและยืดอายุก้อนเชื้อเห็ด
ก้อนเชื้อเห็ดที่ผ่านการให้ผลผลิตแล้วหลายรุ่น ธาตุอาหารก็จะลดลงไปเรื่อยๆ สังเกตได้จากดอกเห็ดเริ่มออกช้าลง ผลผลิตเริ่มน้อยลง หรือดอกเห็ดมีขนาดเล็กลง เมื่อเอามือบีบดูหากก้อนเชื้ออ่อนนิ่ม นั่นแสดงว่า ธาตุอาหารหลักอันเป็นแหล่งพลังงาน คือ เซลลูโลส ถูกนำไปใช้เกือบหมดแล้ว ถึงแม้จะเสริมธาตุอาหารอื่นใดเข้าไป ก็ไม่สามารถทำให้เกิดผลผลิตได้ แต่หากทำการบีบก้อนเชื้อเห็ดยังแข็งอยู่ แสดงว่า ยังพอมีแหล่งพลังงาน เหลือ เหตุที่ผลผลิตต่ำอาจ เนื่องมาจากธาตุอาหาร บางอย่างมีไม่เพียงพอ เช่น โปรตีน เกลือแร่ หรือวิตามิน บางชนิด เมื่อเป็นเช่นนี้ สามารถ เสริมธาตุอาหารสำเร็จรูปของสารนิวคลีโอไทด์ หรือ อาหารเสริม สำเร็จรูป (องค์ประกอบเป็นโปรตีน ขนาดเล็ก ที่เห็ดเอาไปใช้ได้เลย และธาตุอาหารในรูปของคีเลท )และ ควรใช้ สลับกันไป กับธาตุอาหาร เสริมสำเร็จรูปชนิดอื่นเข้าไปด้วย จะทำให้ธาตุอาหาร ครบและ สมบูรณ์ ที่สุด ขณะที่ปริมาณการใช้ และวิธีใช้นั้น ให้ดูจาก คำแนะนำ ในฉลาก แล้วใช้เครื่องฉีดแบบพ่นฝอยเข้าไปบริเวณหน้าก้อนเชื้อเห็ด เพื่อ ให้เส้นใยเห็ดดูดเอาสารอาหารไปใช้ได้โดยตรง ควรฉีดในช่วงเช้าก่อนจะทำการรดน้ำประมาณ 1 ช.ม. พยายาม อย่าฉีดให้ธาตุอาหารเสริมไปโดนส่วนอื่นที่มิใช่หน้าก้อนเชื้อเห็ด เพราะจะกลายเป็นอาหารให้กับเชื้อโรคคู่แข่งได้ ส่วนความถี่ในการให้ธาตุอาหารเสริมนั้น จะขี้นอยู่กับสภาพก้อนเชื้อเห็ดและความต้องการของผู้เพาะเอง ถ้าต้องการให้เห็ดออกไว ดอกเห็ดสมบูรณ์ ได้น้ำหนักดี หรือเป็นการเร่งให้เห็ดออกมากในช่วงเทศกาลเฉพาะ อาจจะต้องทำการเสริมธาตุอาหารติดต่อกันทุกวัน หรือวันเว้น ก็ได้ โดย ธาตุอาหารเสริมดังกล่าวแม้ว่าจะฉีดให้กับเห็ดบ่อยครั้ง ก็ไม่เป็นอันตรายต่อก้อนเชื้อเพียงแต่จะทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงเกินไป เท่านั้น
เห็ดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เป็นส่วนประกอบของอาหารหลายอย่าง อีกทั้งปัจจุบันยังมีการแปรรูปเป็นอาหารหลากหลาย บางกอกทูเดย์ดอทเน็ตเราจึงได้นำความรู้เรื่องเห็ดมานำเสนอเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้สนใจ ซึ่งก้อนเชื้อเห็ดก็เป็นสิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่างในการเพาะเห็ด การบริการจัดการจึงต้องทำอย่างถูกต้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ขอบคุณ อ้างอิงที่มาจาก วารสาร คู่มือเพาะเห็ดเงินล้าน (หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำ)