
ชมสุริยุปราคาเหนือฟ้าเมืองไทย 9 มี.ค.นี้ 25 กุมภาพันธ์ 2559 สดร. แถลงข่าว “สุริยุปราคาเหนือฟ้าเมืองไทย 9 มีนาคม 2559” จัดใหญ่ตั้งจุดสังเกตการณ์สุริยุปราคาบางส่วน เช้าตรู่พุธที่ 9 มีนาคมนี้ ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รอง ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ เผยสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้จะคลาดผ่านบริเวณประเทศอินโดนีเซีย สิ้นสุดที่มหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งฮาวาย ส่วนประเทศไทยจะเห็นในลักษณะดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์บางส่วน
ภาคใต้เห็นการบดบังเกือบเต็มดวง 70% ภาคกลาง-กทม.เห็นบดบัง 40% ส่วนภาคเหนือเห็นบดบัง 20% เฝ้าชมได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 06.00-08.30 น. ระยะเวลาการเคลื่อนที่ (เริ่มการบัง-สิ้นสุดการบัง) จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าๆ
แนะการดูต้องใช้อุปกรณ์กรองแสงที่มีคุณภาพ เช่น แว่นดูสุริยุปราคา ฟิล์มเอ็กซเรย์ กล้องโทรทัศน์ สำหรับดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ หรืออุปกรณ์ทางอ้อม กล้องรูเข็ม กระช้อนที่ใช้ดูภาพสะท้อนการเกิดสุริยุปราคา
ห้าม!! มองโดยตรงหรือใช้กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือแว่นกันแดด เด็ดขาด!! จะทำให้ตาบอดได้ในเสี้ยววินาที และหากพลาดอาจรอเวลาอีกหลายปี และอีกกว่า 54 ปี ถึงจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในเมืองไทยอีกครั้ง
รู้หรือไม่? สุริยุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดในวันที่ 9 มี.ค.นี้ เป็นสุริยุปราคาลำดับที่ 52/73 ในชุดซารอสที่ 130 แนวคราสเต็มดวง ส่วนใหญ่พาดผ่านมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงต้นของคราส เงามืดของดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ผ่านแผ่นดินที่เป็นเกาะใหญ่ๆ ของประเทศอินโดนีเซีย อาทิ เกาะสุมาตรา กาลิมันตัน สุลาเวสี และหมู่เกาะโมลุกกะ
การเกิดคราสครั้งนี้ ดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังนานที่สุดถึงกว่า 4 นาที แม้ว่าจุดที่เกิดคราสเต็มดวงนานที่สุดนี้จะอยู่ในมหาสมุทร แต่ในช่วงต้นของปรากฏการณ์การเกิดคราสที่พาดผ่านแผ่นดิน บริเวณหมู่เกาะโมลุกกะและสุลาเวสี จะนานถึงกว่า 3 นาที
เชียงใหม่ – ดาดฟ้า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลเชียงใหม่
กรุงเทพฯ – สวนเบญจกิติ ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย
ฉะเชิงเทรา – หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา
นครราชสีมา – หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา
สงขลา – ลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา
พร้อมระดมเครือข่ายดาราศาสตร์อีกกว่า 100 แห่งจัดพร้อมกันทั่วประเทศ ย้ำคนไทยไม่ควรพลาด รออีกทีสามปีข้างหน้า
มีผู้ร่วมแถลงข่าว ได้แก่
ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผอ.สดร.
อ. ชูชาติ แพน้อย รักษาการผอ.หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา
อ. เฉลิมชนม์ วรรณทอง รักษาการผอ.หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา
ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page www.facebook.com/NARITpage/timeline
Leave a Reply