4 สัญญาณกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อย

กาวิสคอน จัดเสวนาเรื่อง “จุก เสียด แสบ เปรี้ยว” 4 สัญญาณกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อย การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบมากขึ้น เนื่องจากภายในหนึ่งวันต้องทำอะไรหลายๆอย่าง ทำให้ลืมคำนึงถึงคำว่า “สุขภาพ” ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าสำคัญที่สุดของทุกๆคน โดยตอนนี้โรคยอดฮิตอีกโรคหนึ่งนอกจากโรคกระเพาะที่หลายๆคนเป็นคือ โรคกรดไหลย้อน ซึ่งถือเป็นโรคร้ายแรงที่จะทำให้เราต้องทนทรมานเป็นอย่างมาก

ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กาวิสคอน จึงจัดเสวนาเรื่อง “จุก เสียด แสบ เปรี้ยว” 4 สัญญาณกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อย ชี้แนะถึงอาการที่เป็นสัญญาณสู่โรคกรดไหลย้อน โดยมีแพทย์หญิงวิภากร เพิ่มพูล มาแนะนำให้ทุกๆคนได้คอยสังเกตตัวเองว่า ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคกรดไหลย้อน .. ซึ่งผลปรากฎว่า โรคกรดไหลย้อน นั้น พบได้ในคนทั่วไป ทุกกลุ่ม ทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานในที่ใช้ชีวิตประจำวันอย่างเคร่งเครียดและเร่งรีบ มีพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น กินมื้อใหญ่ นอนทันทีหลังทานอาหาร ทั้งเด็กและผู้สูงอายุ ตลอดจนสตรีมีครรภ์ พบได้ถึง 6 ใน 10 คน เนื่องจากความดันในช่องท้องที่เพิ่มขึ้นจากการเจริญเติบโตของทารก และความผิดปกติของหูรูดที่เกิดจากฮอร์โมน ร้อยละ 60 ของสตรีที่ตั้งครรภ์ล้วนเคยมีอาการแสบยอดอกแบบเรื้อรัง แม้จะไม่เคยมีอาการกรดไหลย้อนมาก่อน สาเหตุสำคัญเนื่องจากความดันในช่องท้องที่เพิ่มขึ้นจากการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้ LES หย่อนลงในระหว่างตั้งครรภ์

แพทย์หญิงวิภากร เพิ่มพูล กล่าวว่า โรคกรดไหลย้อนมักเกิดจากการพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเอง เพราะฉะนั้น การจะหลีกเลี่ยงโรคนี้ต้องพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง และดูแลตัวเองอย่างมีวินัยและเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาระดับน้ำหนักให้คงที่ ไม่เกินมาตรฐาน เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูงทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น ควรงดสุราบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมากทำให้หูรูดอ่อนแรง งดอาหารมันๆ อาหารทอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ เผ็ด เปรี้ยว เค็มจัด ควรรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ และแค่พออิ่ม และต้องทานมื้อสุดท้ายก่อนจะนอน 3 ชั่วโมง อีกทั้งหลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์ สุรา และพยายามผ่อนคลายจากงานหรือสิ่งที่ทำให้เครียดด้วยการดูหนังและฟังเพลง หรือออกกำลัง เพราะความเครียดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้

คุณอภิภาวดี สนิทวงศ์ พูดคุยถึงโรคกรดไหลย้อนว่า รู้ซึ้งถึงโรคนี้อย่างมากเพราะตัวเองต้องเผชิญกับอาการกรดไหลย้อนอยู่เรื่อยๆ“ระหว่างท้องน้องทั้งสองในแต่ละครั้งนั้น ติ๊กก็ได้เจอกับปัญหากรดไหลย้อนโดยเฉพาะช่วงเวลาที่ท้องได้ 8-9 เดือน และก็ยังมีอาการอยู่ในทุกๆวันนี้ เพราะพอลูกมีกิจกรรมเยอะหรือตัวติ๊กเองที่ทำงานหนัก ทำให้ทานอาหารไม่เป็นเวลา ตอนนี้ก็เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยทานแยกกันหลายๆมื้อ ในช่วง เช้า กลางวัน เย็น โดยแต่ละครั้งที่ทานนั้นพยายามทานให้ห่างกันมื้อละ 2 ชั่วโมงในปริมาณที่พอควร ที่สำคัญต้องลดอาหารที่มีรสจัดและเนื้อสัตว์ เคล็ดลับนี้สามารถใช้กับคุณแม่ๆที่ตั้งครรภ์อยู่ได้เช่นกันค่ะ”
มรว.สุทธิภาณี ยุคล เล่าว่าไม่เคยเป็นกรดไหลย้อนแต่เจ้าตัวเริ่มหวั่นกลัวเพราะเห็นคนรอบข้างเป็นกันมากขึ้นเรื่อยๆ “ส่วนตัวแล้วนุ่นไม่เคยเป็นโรคกรดไหลย้อนมาก่อน แต่จริงๆแล้วนุ่นก็เป็นคนที่ชอบทานแล้วนอนเลย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มาก พอเริ่มอายุเยอะขึ้นเพื่อนรอบๆตัวก็เริ่มเป็นโรคนี้เพื่มขึ้น ทำให้รู้ว่าพอเป็นแล้วจะทุกข์ทรมานมากๆ ส่วนตัวเป็นโรคกระเพาะก็พยายามทานข้าวให้ตรงเวลาขึ้น และลดปริมาณข้าวเย็น ไม่ทานเยอะจนเกินไปก่อนนอน”

คุณอรชุมา ดุรงค์เดช กล่าวถึงพี่ชายที่มีอาการกรดไหลย้อนเนื่องจากทำงานหนัก ทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง “โดยส่วนตัวเฟย์ไม่เคยประสบกับโรคกรดไหลย้อนนี้เอง แต่พี่ชายของเฟย์เคยเป็นเลยทำให้รู้ถึงอาการของกรดไหลย้อน พี่ชายเฟย์จะค่อนข้างทานไม่เป็นเวลา พอทำงานหนักๆ ปุ๊บก็รีบทานข้าว แล้วก็นอนเลย โดยบางวันก็ทานไม่ตรงเวลาบ้าง เลยทำให้กรดไปกัดกระเพาะ โชคดีที่ในวันนี้ได้มาร่วมงานกาวิสคอน เฟย์จึงได้ความรู้ที่จะไปให้คำแนะนำกับพี่ชายค่ะ”

โรคกรดไหลย้อนนั้นเกิดขึ้นได้หากเราไม่ใส่ใจพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ที่รวมไปถึงจัดตารางเวลาการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง โดยหากเกิดโรคนี้ขึ้นแล้ววิธีป้องกันโรคที่สำคัญนั้นคือเราควรรับประทานอาหารให้ถูกเวลา และปริมาณพอควร ควบคู่ไปกับการลดบริโภคอาหารประเภทรสจัด ทั้งเผ็ด หวาน มันเปรี้ยว ของมันของทอด รวมทั้งการบริโภคอาหารประเภทชีส น้ำอัดลม ช็อคโกแลต มิ้นท์ และกาแฟ เพียงเท่านี้อาการ “จุก เสียด แสบ เปรี้ยว” ก็จะไม่ถามหาและ สุขภาพที่ดีก็จะคงอยู่กับเราตลอดไป

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *